วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ

  ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ เป็นกฏหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศหรือปกครองรัฐ และยังเป็นแม่บทของกฏหมาย ซึ่งมีการกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบการปกครองของประเทศ และยังรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนและพลเมืองไว้
          พระราชบัญญัติ คือ  เป็นกฎหมายที่มีรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชน เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชกำหนด
          พระราชกำหนด คือ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกพระราชกำหนดจะต้องเป็นกรณี เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือแก้ไขภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเป็นการด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินเท่านั้น
        พระราชกฤษฎีกา คือ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด ได้เปิดช่องทางและมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยเอาเอง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด แล้วแต่กรณี
        เทศบัญญัติ คือ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้อำนาจ ในการออกกฎหมายมาจากพระราชบัญญัติบางฉบับแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อใช้บังคับ เฉพาะในเขตปกครองของตนเท่านั้น

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
   ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศปัจจุบันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่คนไทยทุกคน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้นั้น ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด คือต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ของคนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทย หากไม่มีรัฐธรรมนูญดิฉันคิดว่าประเทศไทยเราคงจะเกิดความวุ่นวายโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพราะทุกคนจะเห็นแก่ตัว นึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีความเท่าเทียมกัน ดั้งนั้นประเทศเราควรที่จะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญไว้ เพื่อให้ประเทศของเรามีความระเบียบอย่างเป็นระบบ

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
    ตอบ มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ดิฉันคิดว่าไม่ต้องแก้ไขแล้วเพราะมาตรา 112 นี้ เหมาะสมแล้ว และสิ่งที่นักวิชาการต้องการแก้ไขนั้นเพราะประโยชน์ส่วนตัวของตัวเอง ไม่นึกถึงคนอื่นๆว่าจะมีผลกระทบหรือปัญหาอะไรตามมา 

4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
    ตอบ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในฐานะที่ดิฉันเป็นคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งน่าสนใจมากเพราะเรื่องเกิดขึ้นมาจากการตีความแผนที่คนละแผ่นกัน จึงทำให้เป็นเหตุให้มีการบุกล้ำพื้นที่ระหว่างกัน  โดยมีทหารหรือคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทำการก่อเหตุ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น และที่สำคัญคือ กรณีของเขาพระวิหารที่ตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลย สำหรับดิฉันคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ อย่าใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศตนเองและส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นให้น้อยที่สุด

5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
   ตอบ  ดิฉันเห็นด้วยกับที่ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะ พระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษานั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ่ง เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทยเราให้มีคุณภาพและศักยภาพมากยิ่งขึ้น

6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
    ตอบ การศึกษา หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้และเป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
            การศึกษา หมายถึง เป็นการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงมีความจำเป็นต่อชีวิตอีกประการหนึ่ง
            การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง  การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
         การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง เป็นการจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจะมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
           การศึกษาในระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          การศึกษานอกระบบ หมายถึง เป็นกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้พลาดโอกาสเรียนจากระบบการศึกษาปกติ หรือผู้ต้องการพัฒนาตนเอง ได้รับการเรียนรู้ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง เป็นการมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนกําหนด/เลือกวิธีการเรียนเอง ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายเพื่อทําให้บุคคลมีโอกาสแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเข้าใจ อันจะนําไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
         สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชน อย่างเช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่นๆ
         สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         มาตรฐานการศึกษา หมายถึงจุดประสงค์ของการจัดการการศึกษา เป้าหมาย หรือข้อกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการจัดการศึกษาและอาจรวมไปถึงเป้าหมายการศึกษาของแต่ละสถานที่ เพื่อใช้ในการประเมินผลและประกันคุณภาพการศึกษา
         การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการทางการศึกษา ว่าการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุรภาพหรือมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
         การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามโดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรองรับจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
        ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่ให้ความรู้ ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน ซึ่งได้แก่ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
        ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่มีหน้าที่หลักทางด้านการเรียนและส่งเสริมการเรียนของผู้เรียนด้านวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
        คณาจารย์ หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
        ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคคลวิชาชีพที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
        ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน
        บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้ที่สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างอีกด้วย

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
   ตอบ ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข โดยมีหลักในการจัดการศึกษาคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร
  ตอบ 

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
   ตอบ นักศึกษาที่ต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติดังนี้
           1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูพ.ศ. 2547 
           2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู           
           3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา           
          4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
     ตอบ  ในการเรียนวิชากฏหมายการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog นั้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้วิธีการใช้และเราสามารถนำWeblogที่ผู้สอนได้สอนและแนะนำไว้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาเรียนอื่นๆได้อีกด้วยและเป็นเทคโลโยีที่ทันสมัยควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ต่อไป ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่างมากแก่การเรียนการสอน  เราสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และทำให้เรารู้เกี่ยวกับกฏหมายการศึกษามากขึ้น รู้จักคิด วิเคราะห์มากขึ้นอีกด้วย ส่วนการให้น้ำหนักคะเเนนของรายวิชานี้ ดิฉันให้เกรด A และดิฉันคิดว่าตนเองน่าจะได้เกรด A เพราะดิฉันส่งงานครบทุกชิ้น และตั้งใจทำงานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น