วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ



   ตอบ                                                     หมวด ๑
                                                                            บททั่วไป
          มาตรา ๑  ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
          มาตรา ๔  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความ คุ้มครอง
          มาตรา ๕  ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่ง  
รัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
          มาตรา ๖  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
         มาตรา ๗  ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตาม 
ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
          มาตรา ๒๘  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
ส่วนที่ ๒
ความเสมอภาค
         มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
       
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
     ตอบ   
 ส่วนที่ ๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
           มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
            การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของ
ประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่
เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัย 
              ตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ส่วนที่ ๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
              มาตรา ๘๐  รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข
การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
              (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้
การศึกษาปฐมวัยส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็น
ปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้
ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพา
ตนเองได้
             (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ
ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติกฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็น
ไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐาน
คุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
            (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนกาศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขงต่างๆ และ
เผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
             (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และ
เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   ตอบ   
          สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือรัฐธรรมนูญ มีความหมายตามพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ว่า "เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดี่ยว หรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐ รวมทั้งสถาบันและองค์กรที่ใช้อำนาจในการปกครองรัฐ"
           ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
          จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
          การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก

การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนที่มีส่วน ร่วมทางการเมืองมีดังนี้
         1) ศาล ศาลเป็นองค์กรของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีศาล 4 ประเภท คือ
              1. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณา วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดหรือการกระทำใด ๆจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
              2. ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิพากษาคดีทั่วไปที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนในกรณีที่เกิดข้อพิพาทกันไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เพราะเมื่อเกิดข้อขัดแย้งกันขึ้น คู่พิพาทจะต้องให้ผู้เป็นกลางเป็นคนตัดสินให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและจะเป็นผู้ตัดสินตามตัวบทกฎหมาย
             3. ศาลปกครอง มีำอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำในทางปกครอง
            4. ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่น ๆให้เป็นไปตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ ซึ่งคดีอาญาทหาร หมายถึง คดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร

       2) คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหาราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนและคณะรัฐมนตรีอีก 35 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
           1. นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นำชื่อเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งและประธานสภาลงนามเป็นผู้สนองพระราชโองการ
           2. รัฐมนตรี คือบุคคลที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาเลือกให้เข้ามาทำงานร่วมกัน เรียกว่า คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นบุคคลใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมดกำหนด เช่น มีสัญญาติไทยโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น

      3) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์กรอิสระซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หลายองค์กร เช่น
           1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ประกอบด้วยประธานกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ปละกรรมการอีก 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
           2. คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ไต่สวน และสรุปสำนวนข้อเท็จจริง พร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนข้าราชการระดับสูง หรือนักการเมืองออกจากตำแหน่ง และการดำเนินคดีทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาและแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งไต่สวนวินิจฉัยกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวย ผิดปกติ เป็นต้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 คนและกรรมการอีก 8 คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
           3. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระ ซึ่งประกอบด้วยประธาน 1 คนและกรรมการอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทางแต่งตั้งจกผู็มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจ เงินแผ่นดิน บัญชี ตรวจสอบภายใน การเงิน การคลัง และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
           4. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหน้าที่พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่ข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชน ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้ง รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นประจำทุกปี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาและจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน
           5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบแล้วรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอมาตรการแก้ไขต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลตลอดจนเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น

       4) ประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดการมีส่วนรวมทางการเมืองของประชาชนไว้หลายอย่าง เพราะถือว่าประชาชนเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่มีสิทธิกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศไทย มิใช่เพียงแค่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในวันเลือกตั้งเท่านั้น แต่ประชาชนยังมีส่วนร่วมทางการเมือง ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
          1. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่พวกเขาร่วมเสนอเข้ามา ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
          2. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้มีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด หากมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
         3. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงประชามติ ในกรณีที่มีการให้ออกเสียงประชามติ เพื่อแสดงความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น 
         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
               ตอบ การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
         รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกินกี่คน
               ตอบ 36 คน
         คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
               ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญ

4. ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

    ตอบ  เหตุผลที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะประชาชนทุกคนต้องยึดถือระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับหรือกฏระเบียบที่รัฐกำหนดไว้ เพื่อความเป็นระเบียบ สะดวกและง่ายต่อการดำเนินชีวิต

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

   ตอบ ดิฉันคิดว่าเกิดจากการขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มที่ต้องการจะแก้ไขกับกลุ่มที่จะคัดค้านบางมาตรา ซึ่งมาตราที่มีปัญหามากที่สุดของรัฐธรรมนูญปี 50 คือ มาตรา 309 มาตรานี้มาตราเดียวที่ทำลายทั้งระบบประชาธิปไตย เนื่องจากยอมรับการรัฐประหารแถมยังทำลายระบบยุติธรรมไทยทั้งหมดให้หมดความน่าเชื่อถือเพราะมาตรานี้รับรองการระทำแบบครอบจักรวาลทำให้ไร้ความยุติธรรมไม่ว่าจะอิงจากหลักใดๆก็ตาม ส่วนกลุ่มที่คัดค้านหรือการต่อต้านของพวกที่ได้รับประโยชน์ จากมาตรานี้ในการรับตำแหน่งต่างๆ ไปหาผลประโยชน์ โดยไม่ต้องกลัวกฏหมายใดๆ หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้คงจะแก้ยากเพราะโดนขวาง

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่า 

   ตอบ  ดิฉันคิดว่าอำนาจทั้ง 3 อำนาจนี้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน ในสภาวะตอนนี้เกิดปัญหามากมายให้กับประเทศชาติและบ้านเมืองของประชาชนชาวไทย แต่ทุกฝ่ายต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง โดยยึดถือระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรปี 2550ได้กล่าวไว้

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

       ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

       1. นิยามคำว่า กฎหมาย หมายถึง กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้อื่นในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html [10 พฤศจิกายน 2555].


       2. นิยามคำว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจที่กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตนาจำนง” เช่น ในกรณีบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์บุคคลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะมี เจตจำนงที่จะครอบครองให้สอยหรือจำหน่ายทรัพย์นั้น โดยเราจะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ก็ได้ หรือจะใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงบางประการก็ได้แล้วแต่เจตจำนงของเรา
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
   http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html [10 พฤศจิกายน 2555]. 

       3. นิยามคำว่า เสรีภาพ หมายถึง สถานภาพของมนุษย์ที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร เป็นอำนาจที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือที่จะไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เสรีภาพนั้นเรามีได้โดยไม่จำเป็นที่คนอื่นจะต้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อเราหรือเคารพสิ่งนั้น ๆ ตามกฎหมาย เป็นสิ่งที่เราสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่มีใครมาป้องปัดขัดขวาง หรือหาว่าเราล่วงละเมิดคนอื่นได้
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html  [10 พฤศจิกายน 2555].

       4. นิยามคำว่า อำนาจอธิปไตย หมายถึง ในทางกฎหมายมหาชนถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจที่แสดงความเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง และถือว่าเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของรัฐ
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html  [10 พฤศจิกายน 2555].

       5. นิยามคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดๆ
       อ้างอิง : คลังปัญญาไทย. (2552)  สิทธิมนุษยชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
http://www.panyathai.or.th/ [10 พฤศจิกายน 2555].
   
       6. นิยามคำว่า กฎกระทรวง หมายถึง เป็นบทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี 
       อ้างอิง : thethailaw. (2555)  กฎกระทรวง (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com [10 พฤศจิกายน 2555].

         7. นิยามคำว่า กฎหมายอาญา หมายถึง กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเป็นความผิด และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย
       อ้างอิง :  เฉลิมพร  พงษ์ภู่. (2555)  ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.seal2thai.org [10 พฤศจิกายน 2555]. 

       8. นิยามคำว่า รัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐธรรมนูญตามความหมายของกฎหมายว่า หมายถึง กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน
อ้างอิง ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย. (2552)  สุขภาวะกับสิทธิและการมีส่วนร่วมรัฐธรรมนูญ 2550 (ออนไลน์)  สืบค้นจาก  http://ppvoice.thainhf.org/index.php?module=article&page=detail&id=473 [10 พฤศจิกายน 2555].  

       9.  นิยามคำว่า คำวินิจฉัย หมายถึง เป็นการชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องเป็นต้น อันจะยุติกระบวนพิจารณาในชั้นของศาลนั้น ๆ ขณะเดียวกัน ในคดีบางประเภท ศาลอาจยุติกระบวนพิจารณาด้วยคำสั่งศาลก็ได้
       อ้างอิง วิกิพีเดีย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/  [10 พฤศจิกายน 2555].  

       10. นิยามคำว่า  ฝ่ายนิติบัญญัติ  หมายถึง ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ
       อ้างอิง คลังปัญญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.panyathai.or.th [10 พฤศจิกายน 2555]. 

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

^^แนะนำตัว^^

สวัสดิ์ดีค่ะ.......

 ดิฉันชื่อ นางสาววันโซเฟีย อาแว

 ชื่อเล่น เฟีย

 ที่อยู่ อยู่ที่จังหวัดนราธิวาส

ประวัติการศึกษา....

 จบชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสวนสวรรค์วิทยา

 จบชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 โรงเรียนบ้านค่าย

 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดารุสสาลาม

 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์

  ปัจจุบันเรียนปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีะรรมราช


คติประจำใจ "อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น"