วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 8

เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด

   ตอบ  ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546 

2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
   ตอบ  ผู้รักษา คือ นายกรัฐมนตรี

3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
   ตอบ  สาเหตุที่ต้องประกาศใช้พระราชกฤษฏีฉบับนี้เพราะมีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการนั้นตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
   ตอบ มี 9 หมวด 53 มาตรา ประกอบด้วย
           1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
           2. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
           3. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          4. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
          5. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          6. การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
          7. การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
          8. การประเมิลผลการปฏิบัติราชการ
         9. บทเบ็ดเตล็ด

5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
   ตอบ  1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
          2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ         
          4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น         
          5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์         
          6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
          7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อ   
   คณะรัฐมนตรี 
   ตอบ มีสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานงบประมาณร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
   ตอบ กำหนดเวลาเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
  ตอบ กำหนดให้จัดทำเป็นแผนสี่ปี

9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
  ตอบ ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ คณะผู้ประเมินอิสระ

10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
    ตอบ คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ก.พ.ร.  กำหนด

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน

คำชี้แจง 
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
   ตอบ กฏหมาย คือ กฏข้อบังคับที่ประชาชนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามทุกกฏข้อระเบียบที่รัฐกำหนดไว้ขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุม บังคับพฤติกรรมของพลเมืองในประเทศ ถ้าหากประชาชนทุกคนฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดและจะถูกลงโทษตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ และการบังคับใช้กฏหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ คือ จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐและใช้บังคับบุคคลทั่วไปด้วยความเสมอภาค และประชาชนมีสิทธิในการปฏิบัติจากรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
   ตอบ  เห็นด้วย เพราะ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ว่าวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ผุ้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา
ที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป้นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วยและเป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้นๆได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
   ตอบ ดิฉันมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นนั้น สิ่งแรกที่ทุกคนต้องมีคือการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาซึ่งสิ่งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนของสถานศึกษา  คือผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมจะเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร  ความคิดเห็นถูกจะรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาได้   ที่สำคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการบริหารได้ดีที่สุด  ซึ่งนอกจากนั้นยังมีการจัดระดมทรัพยากร  เช่น งบประมาณ วัสดุ  สื่อ  เทคโนโลยี เพื่อมาสนับสนุนการจัดการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น และมีกลยุทธ์หรือปัจจัยที่จะสามารถนำไปสู่ความสำเร็จของการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
   ตอบ รูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และ การศึกษาในระบบมี 2 ระดับด้วยกัน คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
   ตอบ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความแตกต่างกัน เพราะ การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ จำนวนเก้าปีโดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือการศึกษาภาคบังคับนั้นจะต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานจะไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของประชาชนคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมือง

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
  ตอบ  มีการแบ่งตาม สํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวง สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืนฐาน สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นหัวหน้าส่วนราชการ

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
   ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เพราะ เป็กฏหมายที่ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
   ตอบ ถือว่ากระทำผิด เพราะบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งที่เป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูด้วยตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546ได้กล่าวไว้

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
  ตอบ โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครอง ซึ่งโทษทางวินัยมี 5 สถานะ คือ  1ใภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5.ไล่ออก


10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
    ตอบ  ดิฉันคิดว่า คำว่าเด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 คือ
             "เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน             
             "เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้              
             “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้   
             “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย    
            “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ