วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม

1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
    ตอบ  เหตุผลที่ต้องประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาบังคับ นี้ เพราะ ฏฏหมายได้กกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองนั้นมีหน้าที่ในการจัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ที่ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมครที่จะต้องปรับปรุงกฏหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฏหมายดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัตินี้ไว้

2. ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
    ตอบ   ก. ผู้ปกครอง  คือ บิดาหรือมารดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำ
              ข.เด็ก คือ เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
              ค.การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาของชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้ขพื้นฐานตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
             ง. องค์กรปกครองส่วนท้องุถิ่น คือ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3 .กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
   ตอบ  ผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฏกหมายกำหนดจะถูกลงโทษโดยต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาให้สถานศึกษามีอำนาจในการผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด


4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
    ตอบ  จากที่ดิฉันได้อ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดฉันสามารถสรุปได้ดั้งนี้

  •  อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ในกฏหมายพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการฉบับนี้
  • อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นการจัดการศึกษา การบำรุ่งศาสนาและการสืบสานศิลปวัฒนธรรม
  • การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
  • การกาหนดตาแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คานึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน แล้วแต่กรณี
  • บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการ อานาจหน้าที่ของผู้ดารงตาแหน่งหรือหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่กาหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัตินี้
  • การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  • ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่เป็นนิติบุคคล คือ สำนักงานรัฐมนตรี
  • ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
  • อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษามีหน้าที่ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
  • ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • คณะกรรมการสภาการศึกษาเป็นผู้กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. นี้
  • ผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • บุคคลที่เป็นข้าราชการการเมืองคือ เลขาธิการรัฐมนตรีกับรองเลขาธิการรัฐมนตรี
  • การติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • หน่วยงานแต่ละระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ มีระดับกระทรวงศึกษาธิการ ระดับกรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรมและระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 
  • บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทในการศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
  • บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ  ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้หน่วยงานที่จะต้องเป็นผู้จัดแทนคือ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงาน การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถ พิเศษและ การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
  • ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกับเลขาธิการ
  • ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น