วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

       ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

       1. นิยามคำว่า กฎหมาย หมายถึง กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้อื่นในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html [10 พฤศจิกายน 2555].


       2. นิยามคำว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจที่กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตนาจำนง” เช่น ในกรณีบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์บุคคลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะมี เจตจำนงที่จะครอบครองให้สอยหรือจำหน่ายทรัพย์นั้น โดยเราจะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ก็ได้ หรือจะใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงบางประการก็ได้แล้วแต่เจตจำนงของเรา
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
   http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html [10 พฤศจิกายน 2555]. 

       3. นิยามคำว่า เสรีภาพ หมายถึง สถานภาพของมนุษย์ที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร เป็นอำนาจที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือที่จะไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เสรีภาพนั้นเรามีได้โดยไม่จำเป็นที่คนอื่นจะต้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อเราหรือเคารพสิ่งนั้น ๆ ตามกฎหมาย เป็นสิ่งที่เราสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่มีใครมาป้องปัดขัดขวาง หรือหาว่าเราล่วงละเมิดคนอื่นได้
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html  [10 พฤศจิกายน 2555].

       4. นิยามคำว่า อำนาจอธิปไตย หมายถึง ในทางกฎหมายมหาชนถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจที่แสดงความเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง และถือว่าเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของรัฐ
       อ้างอิง : จำรูญ โปษยานนท์.  (2555)  กฏหมายมหาชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
    http://classroom.hu.ac.th/courseware/Law2/index1.html  [10 พฤศจิกายน 2555].

       5. นิยามคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดๆ
       อ้างอิง : คลังปัญญาไทย. (2552)  สิทธิมนุษยชน (ออนไลน์)  สืบค้นจาก 
http://www.panyathai.or.th/ [10 พฤศจิกายน 2555].
   
       6. นิยามคำว่า กฎกระทรวง หมายถึง เป็นบทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี 
       อ้างอิง : thethailaw. (2555)  กฎกระทรวง (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com [10 พฤศจิกายน 2555].

         7. นิยามคำว่า กฎหมายอาญา หมายถึง กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเป็นความผิด และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย
       อ้างอิง :  เฉลิมพร  พงษ์ภู่. (2555)  ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.seal2thai.org [10 พฤศจิกายน 2555]. 

       8. นิยามคำว่า รัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐธรรมนูญตามความหมายของกฎหมายว่า หมายถึง กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน
อ้างอิง ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย. (2552)  สุขภาวะกับสิทธิและการมีส่วนร่วมรัฐธรรมนูญ 2550 (ออนไลน์)  สืบค้นจาก  http://ppvoice.thainhf.org/index.php?module=article&page=detail&id=473 [10 พฤศจิกายน 2555].  

       9.  นิยามคำว่า คำวินิจฉัย หมายถึง เป็นการชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องเป็นต้น อันจะยุติกระบวนพิจารณาในชั้นของศาลนั้น ๆ ขณะเดียวกัน ในคดีบางประเภท ศาลอาจยุติกระบวนพิจารณาด้วยคำสั่งศาลก็ได้
       อ้างอิง วิกิพีเดีย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/  [10 พฤศจิกายน 2555].  

       10. นิยามคำว่า  ฝ่ายนิติบัญญัติ  หมายถึง ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ
       อ้างอิง คลังปัญญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.panyathai.or.th [10 พฤศจิกายน 2555]. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น